Discover7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)เหนือบุญเหนือบาป [6737-7q]
เหนือบุญเหนือบาป  [6737-7q]

เหนือบุญเหนือบาป [6737-7q]

Update: 2024-09-14
Share

Description

Q : ผู้ที่หยั่งรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ผู้นั้นต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยหรือไม่?

A : พระอรหันต์ย่อมทราบแน่นอนว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์แล้ว


Q : การได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีป เกิดขึ้นที่พุทธภูมิใด?

A : อานิสงค์ของการเจริญเมตตา คือ 1) เป็นพรหมไม่ได้กลับมาเกิดอย่างโลกมนุษย์ 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป 2) เป็นท้าวสักกะเทวราชหัวหน้าของเหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์ 3) เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่ทั้ง 4 ทิศ มีแก้ว 7 ประการในโลกมนุษย์

 

Q :คำสอนใดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงศรัทธาโดยไม่ได้กล่าวถึงปัญญา

A : ทั้ง 2 พระสูตรนี้ คือ สีหเสนาปติสูตรและสัทธานิสังสสูตร ถึงแม้จะกล่าวถึงศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ศรัทธาจะต้องประกอบด้วยปัญญาอยู่แล้ว ทั้งนี้ศาสนาพุทธ ศรัทธาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเมื่อมีศรัทธาแล้ว จึงเกิดความเพียร สติ สมาธิ และมีปัญญาเป็นอันดับสูงสุด 

 

Q : อธิบายความหมายของคำว่า "เหนือบุญเหนือบาป"

A : คนเราเมาบุญได้ เมาบาปได้ คือ ถ้าเราทำบุญมาก เราอาจจะเมาบญได้ ถ้าเราทำบาปมาก เราอาจจะเมาบาปได้ คำว่า ”เมา” คือ เพลินไป ประมาทไป ท่านจึงสอนไว้ถึงทางสายกลาง หากเราทำความดี แล้วยึดถือในความดี ความยึดถือนั้นไม่ดี เพราะความยึดถือคืออุปาทาน คำสอนท่าน จึงเหนือบุญเหนือบาป เหนือทั้งกรรมดี (บุญ) เหนือทั้งกรรมชั่ว (บาป) ให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตให้บริสุทธิ์คือเหนือบุญเหนือบาป ลักษณะคือ ปราศจากความยึดถือ/ไม่สุดโต่ง และเห็นความเกิดขึ้นความดับไปของทั้งบุญและทั้งบาป 

 

Q : ความแตกต่างของการคิดแบบรอบคอบจนมองโลกในแง่ร้าย กับมองในแง่ดีโลกสวยเกินไป จะใช้หลักธรรมใดในการพิจารณา

A : 1) “ความคิด” มาจากภาษาบาลีว่า “วิตก” หมายถึง จิตคิดน้อมไป 2) “ดำริ” มาจากภาษาบาลีว่า “สังกัปปะ” หมายถึง อะไรที่เกิดขึ้นในหัวเรา โดยที่เราไม่ได้คิด เราอาจจะคิด|วิตก หรือ ดำริ|สังกัปปะ ไปได้ทั้งสัมมาหรือมิจฉา หากจิตเรามีมิจฉาสังกัปปะมาก เราก็ต้องวิตกไปในด้านดี เอาวิตกที่เป็นความดีมาแก้


สำหรับคนที่มองโลกในแง่ดีเกินพอดี บางทีเราอาจจะถูกเอาเปรียบจากคนที่ร้าย ๆ กลับกันถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย จิตก็จะสั่งสมอาสวะที่ไม่ดีลงไป จึงแก้ด้วยการที่อย่ามองโลกในแง่ร้าย แต่ให้เข้าใจสถานการณ์ ให้รู้จักระมัดระวัง ใครที่เป็นคนพาลก็ไม่คบด้วย จะรักษาตนไปได้ 

 

Q : การตัดความกังวลที่ทำให้เราฟุ้งซ่านจะใช้ธรรมะข้อไหน?

A : ความฟุ้งซ่าน เป็นดำริ|สังกัปปะ ลักษณะคือมันเกิดขึ้นมาเอง เราไม่ได้คิดว่าเราจะกังวลเรื่องนี้ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ให้ใช้วิตกเข้ามาแก้ โดยเทคนิคที่ครูบาอาจารย์นำมาใช้ คือ ท่องพุทโธหรือดูลมหายใจ จะกำจัดความฟุ้งซ่านได้



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Comments 
loading
In Channel
loading
00:00
00:00
1.0x

0.5x

0.8x

1.0x

1.25x

1.5x

2.0x

3.0x

Sleep Timer

Off

End of Episode

5 Minutes

10 Minutes

15 Minutes

30 Minutes

45 Minutes

60 Minutes

120 Minutes

เหนือบุญเหนือบาป  [6737-7q]

เหนือบุญเหนือบาป [6737-7q]